ขับเคลื่อนโดย Blogger.

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คอร์ดเพลง

เพลงขาด - Playground
Intro / G / G / Cmaj7 / Cmaj7 /

G Em7 Am7 D
หัวใจ กลายเป็นกล่องใส่ความเหงา กลับมาเป็นฉันคนเก่า คนที่ไม่มีใคร ข้างกาย


G Em7 Am7 D
ยิ่งหายใจยิ่งเหงา เป็นความเหงาที่ไม่คุ้นเคย บนโลกที่ไม่มีเธอ ฉันรู้สึกเหมือนมันจะทนไม่ได้


Csus2 Cm7 Bm7 E7 Am7 D
* อยากมีชีวิตที่มีชีวิต เหมือนตอนเธออยู่ ก็เพิ่งรู้ว่าเธอสำคัญกับฉัน แค่ไหน


G D B Em7 D Cmaj7
** เธอคือส่วนหนึ่งของหัวใจ ที่ตอนนี้ได้ขาดหายไป เธออยู่ไหน

Am7 D Am7 D
จะมีสักเช้าหนึ่งไหม ที่ลืมตา แล้วเห็นหน้าเธอ


Instr / G / G / Csus2 / Csus2 / Am7 / Am7 / D / D

( * , ** )

Instr / G / G / Cmaj7 / Cmaj7 / G


เพลง Valentine's Day : Linkin Park  
Dm                             F   C
My insides are turned to ash so slow
Dm                              F   C
And blew away as I collapsed so cold
Dm                          F                 C
A black wind took them away from sight
Dm                                 F           C
And held the darkness over day that night
            Bb                     C                       F                  C
And the clouds above move closer looking so disatisfied
Bb C Dm
but the heartless wind kept blowing, blowing
F C
I used to be my own protection but not now
Dm F C
Cause my path has lost direction somehow
Dm F C
A black wind took you away from sight
Dm F C
Another darkness over day that night
Bb C F C
And the clouds above move closer looking so disatisfied
Bb C F C
And the ground below grew colder as they put you down inside
Bb C
but the heartless wind kept blowing, blowing

Instru : Dm F Dm F

Bb C F
So now you're gone and I was wrong
Am Bb
I never knew what it was like to be alone
Dm F C
On a Valentine's Day, On a Valentine's Day
Dm F C
On a Valentine's Day, On a Valentine's Day
Dm
On a Valentine's Day
F C
I used to be my own protection but not now
Dm F C
Cause my mind has lost direction somehow


เพลง Circle : Potato
Intro : / Csus2 / Csus2 / Em / Em / ( 2 Times )
Csus2 Em
เจ็บที่เขามาแปรเปลี่ยนไป จากเคยรักกันดีทุกวันเวลา


Csus2
จบตรงน้ำตา ความเสียใจ


Em
โอดครวญขอให้เขากลับมา อยากจะย้อนเวลา แล้วได้อะไร


Am
ก็ยิ่งเสียใจ ทรมาน


Bm D
วันนี้ขอให้เธอ ฟังฉัน


G Bm
* สุข ทุกข์ มันก็วนอยู่อย่างนี้ สิ่งร้ายดีก็วนอยู่อย่างนั้น


C Am D
ก่อนนี้รักกันมา เลิกกันไป มันเป็น ธรรมดา


G Bm Em
อย่าฝังใจในวันที่ผ่านพ้น ชีวิตคน มีพบมีจากลา


C Bm Am D
เรื่องดี ๆ รักดี ๆ เดี๋ยวก็มี สักวันที่วนเข้ามา
Solo : / Csus2 / Csus2 / Em / Em /


Csus2 Em
หากมองฟ้ายังเจอหมู่ดาว หากตอนเช้ายังมองเห็นแสงตะวัน


Am
นั่นคือสัญญาณเตือนหัวใจ


Bm D
พรุ่งนี้ ยังมี จำไว้

( ซ้ำ * )
Solo : / Csus2 / Csus2 / Em / Em / ( 2 Times )

/ Am / Bm / C / C / Am / Bm / C / D /
( ซ้ำ * )
Solo : / Csus2 / Csus2 / Em / Em / ( 2 Times )

แทป

แทป (Tab หรือ Tablature) คือ สัญลักษณ์ที่ใช้จดบันทึกเสียงทางดนตรี สำหรับเครื่องสายที่มีลักษณะคล้ายกีต้าร์ เช่น แบนโจ (Banjo) หรือ เบส (Bass) โดยแทป (Tab) นั้นได้พัฒนามาจากโน้ตดนตรีสากล แต่จะอ่านง่ายกว่า สามารถเข้าใจได้รวดเร็ว ทั้งยังบอกถึงตำแหน่งนิ้วบนคอกีต้าร์ได้ดีกว่าโน้ตดนตรีสากลอีกด้วย

แทป (Tab) มีวิธีการบันทึกได้ 2 แบบ คือ แทป (Tab) แบบมือขวา และ แทป (Tab) แบบมือซ้าย ขึ้นอยู่กับว่าต้องการให้ผู้อ่านนั้นได้รับรู้ถึงเรื่องอะไร

แทป (Tab) มือขวา บอกตำแหน่งของนิ้วมือขวาที่ใช้ดีดสายกีต้าร์ต่าง ๆ เพื่อให้ทราบว่าต้องดีดเส้นไหนบ้างหรือเกาสายกีต้าร์เส้นไหนบ้าง รูปแบบใด
แทป (Tab) มือซ้าย บอกวิธีการจับคอร์ดว่าต้องจับอย่างไรบ้าง เนื่องจากบางเพลงอาจจะต้องจับคอร์ดที่ยากกว่าปกติ หรือเป็นลูกเ่ล่นเพิ่มเติมในการเกาหรือดีดเพลงนั้น ๆ และเพลงที่เน้นการวางนิ้วมือบนคอกีต้าร์และการเคลื่อนที่ของนิ้วมือซ้าย ตามอารมณ์ของเพลงนั้น ๆ เช่น เพลงคลาสสิค เพลงบรรเลงด้วยกีต้าร์

ตัวอย่างโน้ตแทป

C D
---------------------------------------2-------------- สายที่ 1 ของกีต้าร์ หรือสายล่างสุด (เสียงแหลมสุด)
------------1-----1--------------2---------2--------- สายที่ 2 ของกีต้าร์
---------0-----0-----0--------3----3----3----3------ สายที่ 3 ของกีต้าร์
------2---------------------0------------------------- สายที่ 4 ของกีต้าร์
---3-------------------------------------------------- สายที่ 5 ของกีต้าร์
------------------------------------------------------ สายที่ 6 ของกีต้าร์ หรือสายบนสุด (เสียงทุ้มสุด)


 

การหัดเล่นกีตาร์

ในการหัดเล่นกีต้าร์นั้นเราจะต้องรู้พื้นฐานในการจับคอร์ดเสียก่อนซึ่งจะจับคอร์ดได้นั้นตัองดูตามตารางคอร์ดกีต้าร์ดังนี้ บางคนอาจจะยังดูไม่เป็นสำหรับคนที่หัดเล่นใหม่ๆ แต่มันไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่หยิบกีต้าร์ขึ้นมาแล้วใช้นิ้วกดไปตามจุดที่อยู่บนเส้นกีต้าร์ตามรูปภาพ พอกดได้แล้วก็หมั่นฝึกกดอยู่บ่อยๆเพื่อที่จะเกิดการเคยชินจนสาสารถเล่นได้ในที่สุด

การจับคอร์ดถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเล่นกีต้าร์เลยก็ว่าได้ ในโลกนี้มีคอร์ดอยู่มากมายมหาสาร
มีผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่าคอร์ดนั้นมีอยู่เป็นร้อยเป็นพันธ์เลยทีเดียว (โห้... ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ) ใครคิดวิธีจับแบบใหนได้ก็อาจจะเรียกเป็นคอร์ดใหม่เลยก็ได้ แต่อย่าพึ่งตกใจไปน่ะครับ คอร์ดหลักๆ นั้นมีอยู่แค่ 7 คอร์ดเท่านั้นเอง คือ A B C D E F และ G ส่วนที่เหลือนั้นก็จะเป็นพวกน้ำจิ๋มน้ำปลาทั้งนั้น

                

                                         1 = นิ้วชี้ 2 = นิ้วกลาง 3 = นิ้วนาง 4 = นิ้วก้อย

ตัวเลขต่างๆ หล่าวนี้ที่จริงแล้วในตารางคอร์ดทั่วๆ ไปจะไม่มีกำกับไว้ ถ้าไม่มีแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าจับคอร์ดได้ถูกต้องหรือผิด? คำตอบก็คือไม่มีใครถูกใครผิดหรอกครับ เพราะการจับนั้นไม่ตายตัว ใครถนัดแบบใหนก็จับแบบนั้น แต่บางทีการจับให้ถูกต้องนั้นก็สำคัญเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่นการจับคอร์ด G จากรูปจะเห็นว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้นิ้วก้อย (เลข 4) ในการจับเลย เพราะนิ้วชิ้วเรายังว่างอยู่นิ หลายคนโดยเฉพาะมือใหม่ๆ ก็เลยใช้นิ้วชี้กดแทนนิ้วกลาง ส่วนนิ้วกลางก็เอาไปกดที่นิ้วนาง และนิ้วนางที่นิ้วก้อย ทำให้เราไม่ต้องใช้นิ้วก้อยเลย (ผมก็เคยจับแบบนี้มาตั้งนาน) ซึ่งดูเหมือนจะง่ายกว่าแบบแรกเยอะ เพราะมือใหม่ส่วนใหญ่จะไม่สันทัดกับการใช้นิ้วก้อยซักเท่าไหร

แต่ถ้าคุณเริ่มที่จะเล่นกีต้าร์เป็นแล้ว และคุณลองเล่นเพลงจากหนังสือเพลง คุณก็จะเจอกับคอร์ด Gsus4 ซึ่งจะต้องเปลี่ยนจากคอร์ด G ไปจับ Gsus4 (มันมักจะมาด้วยกัน) ซึ่งคุณจำเป็นมากที่จะต้องใช้นิ้วชี้ แต่นิ้วชี้คุณกลับใช้ไปแล้วซะนี่...

สรุปเลยละกันน่ะครับว่า การจับคอร์ดนั้นไม่ตายตัวเสมอไป แต่การจับให้ถูกหรือเหมาะสมก็เป็นสิ่งที่ควรทำครับ

ประเภทของกีต้าร์

1.กีตาร์โปร่ง หรือ อาคูสติกกีตาร์ นั่นเอง ก็คือกีตาร์ที่มีลำตัวโปร่งไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการเล่น ซึ่งสามารถที่จะพกพาไปเล่นได้ในทุก ๆ ที่ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรให้วุ่นวาย สามารถแบ่งได้ดังนี้
       1.1 กีตาร์คลาสสิก (Classic Guitar) ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ในยุคปัจจุบันนั่นเองซึ่งมีลักษณะเด่นก็คือมีลูกบิดและแกนพันสายเป็นพลาสติก มีคอหรือฟิงเกอร์บอร์ดที่ใหญ่คือประมาณ 2 นิ้วลักษณะแบนราบ และใช้สายเอ็นหรือไนล่อน ส่วน 3 สายบน(สายเบส) จะทำด้วยไนล่อนหรือใยไหมแล้วพันด้วยเส้นโลหะเช่นเส้นทองแดงหรือบรอนซ์ ซึ่งทำให้มีความนุ่มมือเวลาเล่นไม่เจ็บเหมือน สายโลหะ จึงเหมาะกับคนที่อยากหัดกีตาร์แต่กลัวเจ็บนิ้ว

กีตาร์อีกอย่างที่อยากกล่าวถึงในหัวข้อกีตาร์คลาสสิกคือ กีตาร์ ฟลาเมนโก (flamenco) ซึ่งมีโครงสร้างแทบจะเหมือนกับกีตาร์คลาสสิกทุกประการเนื่องจากได้มีการพัฒนามาจากกีตาร์คลาสสิกนั่นเอง จะต่างกันก็ที่ลำตัวจะบางกว่า และมีปิคการ์ดทั้งด้านบนล่างของโพรงเสียง และสไตล์การเล่นนั่นเองที่จะเป็นแบบสแปนนิสหรือแบบลาตินซึ่งจะมีจังหวะที่ค่อนข้างกระชับและสนุกสนาน

ด้วยเหตุที่ใช้สายไนล่อนนั่นเองทำให้กีตาร์คลาสิกมีเสียงที่ไพเราะนุ่มนวลและคอที่กว้างทำให้ระยะระหว่างสายก็มากขึ้นไปด้วย ซึ่งทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิคนั้นจะสามารถเล่นได้ทั้งการ solo เล่น chord แล่ bass ได้นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคลูกเล่นต่าง ๆ อีกมากมาย ทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิกนั้นมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ง่ายนักกว่าจะเล่นได้อย่างที่ว่า นอกจากจะได้ไปเรียนอย่างเป็นจริงเป็นจังกับโรงเรียนดนตรี

      1.2 กีตาร์โฟล์ค ถือว่าเป็นที่นิยมและรู้จักกันมากที่สุดเนื่องจากหาซื้อง่ายราคาไม่แพงจนเกินไป(ที่แพง ๆ ก็มี) สามารถฝึกหัดได้ง่ายไม่ต้องรู้ถึงทฤษฎีดนตรีมากนัก ใช้เวลาไม่นานก็จะสามารถเล่นเพลงง่าย ๆ ฟังกันในหมู่เพื่อนฝูงได้แล้วแต่จริง ๆ กีตาร์โฟล์คมันมีอะไรมากกว่านั้น ลักษณะทั่ว ๆ ไปคือแกนหมุนและลูกบิดมักเป็นโลหะ คอหรือฟิงเกอร์บอร์ดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิกมีลักษณะโค้งเล็กน้อยรับกับนิ้วมือ แต่มีลำตัว (body) ที่ใหญ่และแข็งแรงกว่ากว่ากีตาร์คลาสสิก ใช้สายที่ทำจากโลหะ เนื่องจากคอกีตาร์ที่เล็กและสายที่เป็นโลหะกีตาร์ประเภทนี้จึงเหมาะกับการเล่นด้วยปิค (flat pick) หรือการเกา (finger picking) ซึ่งเสียงที่ได้จะดังชัดเจน สดใสกว่ากีตาร์คลาสสิก จึงเหมาะกับการเล่นกับดนตรีทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจเล่นเดี่ยวหรือเล่นเป็นวงก็ได้



กีตาร์โฟล์คนั้นมีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กันไปบ้างตามแต่ละความต้องการใช้ประโยชน์ หรือตามแต่ละผู้ผลิตส่วนมากก็จะแบ่งได้เป็น standard folk กีตาร์, jumbo folk กีตาร์ flat top folk กีตาร์ นอกจากนี้ยังมีแบบพิเศษอีกประเภทคือ กีตาร์ 12 สาย(แถวบนขวาสุด) ซึ่งจะมีสายแบ่งเป็น 6 คู่ซึ่งเวลาเล่นก็เล่นเหมือนกีตาร์ทั่ว ๆ ไป เพียงแต่จะได้เสียงที่กังวานและแน่นขึ้น

2. Arch top กีตาร์ เป็นกีตาร์อีประเภทหนึ่งบ้านเราอาจจะไม่ค่อยเห็นคนเล่นมากนักลักษณะทั่ว ๆ ไป จะคล้ายกับกีตาร์โฟล์ค แต่ด้านหน้าจะโค้ง(arch แปลว่าโค้ง) ซึ่งกีตาร์โฟล์คจะแบนราบ และโพรงเสียงจะไม่เป็นแบบช่องกลม แต่จะเป็นรูปตัว f (แค่คล้ายตัว f ที่เป็นตัวเขียนไม่ใช่ตัวพิมนะครับ) อยู่ 2 ช่องบนด้านหน้าของลำตัว ส่วนสะพานยึดสายด้านล่างมักเป็นแบบหางปลา (tail piece) ส่วนมากจะใช้เล่นในดนตรีแจ๊ส





วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาของกีต้าร์


      กีตาร์ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์เพียงแต่ชื่อเรียกและรูปร่างย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเปอร์เซียและตะวันออกกลางหลายประเทศต่อมาได้เผยแพร่ไปยังกรุงโรมโดยชาวโรมันหรือชาวมัวร์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมในสเปน ในยุโรปกีตาร์มักเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ให้ความสนใจและศึกษาอย่างเช่น Queen Elizabeth I ซึ่งโปรดกับ Lute lซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ก็ว่าได้ แต่การพัฒนาที่แท้จริงนั้นได้เกิดจากการที่นักดนตรีได้นำมันไปแสดงหรือเล่นร่วมกับวงดนตรีของประชาชนทั่ว ๆ ไปทำให้มีการเผยแพร่ไปยังระดับประชาชนจนได้มีการนำไปผสมผสานเข้ากับเพลงพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปและเกิดแนวดนตรีในแบบต่าง ๆ มากขึ้น
 
      ผู้หนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงเมื่อพูดถึงประวัติของกีตาร์ก็คือ Fernando Sor ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อวงการกีตาร์เป็นอันมากเนื่องจาการอุทิศตนให้กับการพัฒนารูปแบบการเล่นกีตาร์เทคนิคต่าง ๆ และได้แต่งตำราไว้มากมาย ในปี 1813 เขาเดินทางไปยังปารีตซึ่งเขาได้รับความสำเร็จและความนิยมอย่างมาก จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังลอนดอนโดยพระราชูปถัมป์ของ Duke of Sussex และที่นั่นการแสดงของเขาทำให้กีตาร์เริ่มได้รับความนิยม จากอังกฤษเขาได้เดินทางไปยังปรัสเซีย รัสเซียและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองเซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งที่นั่นเขาได้แต่งเพลงที่มีความสำคัญอย่างมากเพลงหนึ่งถวายแก่พระเจ้า Nicolus I จากนั้นเขาก็ได้กลับมายังปารีตจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี 1839 หลังจากนั้นได้มีการเรียนีการสอนทฤษฎีกีตาร์ที่เด่นชัดและสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้กีตาร์ได้รับการพัฒนาอย่างมาก หลังจากนั้นมีอีกผู้หนึ่งที่มีความสำคัญต่อกีตาร์เช่นกันคือ Francisco Tarrega (1854-1909) ซึ่งเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนแต่ด้วยความสามารถด้านดนตรีของเขาก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จจนได้จากการแสดง ณ Alhambra Theater จากนั้นเขาได้เดินทางไปยัง Valencia, Lyons และ Paris เขาได้รับการยกย่องว่าได้รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องดนตรี 3 ชนิดมารวมกันคือ ไวโอลิน, เปียโน และ รวมเข้ากับเสียงของกีตาร์ได้อย่างไพเราะกลมกลืน ทุกคนที่ได้ฟังเขาเล่นต่างบอกว่าเขาเล่นได้อย่างมีเอกลักษณ์และสำเนียงที่มีความไพเราะน่าทึ่ง หลังจากเขาประสบความสำเร็จใน London, Brussels, Berne และ Rome เขาก็ได้เดินทางกลับบ้านและได้เริ่มอุทิศตนให้กับการแต่งเพลงและสอนกีตาร์อย่างจริงจัง ซึ่งนักกีตาร์ในรุ่นหลัง ๆ ได้ยกย่องว่าเขาเป็นผู้ริเริ่มการสอนกีตาร์ยุคใหม่

       อีกคนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ Andres Sergovia ผู้ซึ่งเดินทางแสดงและเผยแพร่กีตาร์มาแล้วเกือบทั่วโลกเพื่อให้คนได้รู้จักกีตาร์มากขึ้น (แต่คงไม่ได้มาเมืองไทยน่ะครับ) ทั้งการแสดงเดี่ยวหรือเล่นกับวงออเคสตร้า จนเป็นแรงบันดาลใจให้มีการแต่งตำราและบทเพลงของกีตาร์ขึ้นมาอีกมากมาย อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องกีตาร์อย่างเปิดเผยและจริงจังของเขาผู้นี้ นอกจากนี้ผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ทำให้ประวัติศาสตร์กีตาร์เปลี่ยนหน้าใหม่เพราะทำให้นักีตาร์ได้มีโอกาสแสดงใน concert hall มากขึ้น และทำให้เกิดครูและหลักสูตรกีตาร์ขึ้นในโรงเรียนดนตรีอีกด้วย